? ความสุขความสุขสุขภาพ: 1. ความสงบภายใน 2. ได้รับความพึงพอใจจากการช่วยเหลือและสนับสนุนผู้อื่น ความสัมพันธ์. 12R.tv❌✅ ฉันขอให้คุณ ตัวฉัน และคนอื่นๆ ที่ปลายปีหน้า เราทุกคนต่างพูดว่า: “ปี 2022 เป็นปีที่ดีที่สุดในชีวิตฉัน ??” Marcin Ellwart
ความสุข
สภาพจิตใจหรืออารมณ์ของความเป็นอยู่ที่มีอารมณ์เป็นที่น่าพอใจ
ความสุข หรือ สุข พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 นิยามว่า “น. ความสบายกายสบายใจ…”[1] คือความรู้สึกหรืออารมณ์ประเภทหนึ่ง มีหลายระดับตั้งแต่ความสบายใจเล็กน้อยหรือความพอใจจนถึงความเพลิดเพลินหรือเต็มไปด้วยความสนุก มีการใช้แนวความคิดทางปรัชญา ศาสนา จิตวิทยา ชีววิทยาอธิบายความหมายของความสุข รวมถึงสิ่งที่ทำให้เกิดความสุข
แนวความคิดทางปรัชญาและศาสนามักจะกำหนดนิยามของความสุขในความหมายของการดำรงชีวิตที่ดี หรือชีวิตที่มีความเจริญ โดยไม่จำกัดความหมายว่าเป็นเพียงอารมณ์ประเภทหนึ่ง
Wikipedia.org:
https://th.m.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%82
ลำดับขั้นความต้องการของมาสโลว์
ลำดับขั้นความต้องการของมาสโลว์ (อังกฤษ: Maslow’s hierarchy of needs) เป็นทฤษฎีทางจิตวิทยา ที่เสนอโดย อับราฮัม มาสโลว์ ในรายงานเรื่อง “A Theory of Human Motivation” ปี พ.ศ. 2486[2] หลังจากนั้นมาสโลว์ยังไปขยายแนวคิดออกไป รวมถึงข้อสังเกตของเขาเกี่ยวกับความอยากรู้อยากเห็นแต่กำเนิดของมนุษย์ ทฤษฎีของเขาคล้ายกับจิตวิทยาพัฒนาการหลาย ๆ ทฤษฎี ซึ่งทั้งหมดเน้นที่การเติบโตของมนุษย์ในระยะต่าง ๆ
ลำดับขั้นความต้องการของมาสโลว์ มักถูกนำเสนอโดยรูปพิระมิด ที่ความต้องการที่มากที่สุด พื้นฐานที่สุดจะอยู่ข้างล่างและความต้องการความสมบูรณ์ของชีวิต (self-actualization) จะอยู่บนสุด[3]
พิระมิดแบ่งออกเป็น 5 ชั้นคร่าว ๆ ของความต้องการต่าง ๆ คือ ความสมบูรณ์ของชีวิต (self-actualization), ความเคารพนับถือ (esteem), มิตรภาพและความรัก (friendship and love), ความมั่นคงปลอดภัย (security), และความต้องการทางกายภาพ (physiological) ถ้าความเคารพนับถือ, มิตรภาพและรัก หรือ ความมั่นคงปลอดภัย ขาดพร่องไป แม้ร่างกายจะไม่ได้แสดงอาการใด ๆ ออกมาแต่บุคคลนั้น ๆ จะรู้สึกกระวนกระวายและเกร็งเครียด ทฤษฎีของมาสโลว์ยังบอกด้วยว่า ชั้นความต้องการที่พื้นฐานมากกว่าหรืออยู่ข้างล่างของพิระมิด จะต้องได้รับการตอบสนองก่อนที่บุคคลจะเกิดความปรารถนาอย่างแรงกล้าต่อความต้องการในระดับที่สูงขึ้นได้
สุขภาพ
สุขภาพหมายถึงระดับของประสิทธิภาพเชิงการทำงานหรือเชิงเมตาบอลิกของสิ่งมีชีวิตทั่วๆไป องค์การอนามัยโลกให้คำนิยาม “สุขภาพ” ไว้อย่างกว้างๆในธรรมนูญปี ค.ศ. 1948 ว่าหมายถึง
สภาวะอันสมบูรณ์ของความเป็นอยู่ดี (well-being) ทางกาย ทางจิตใจ และทางสังคมของบุคคล โดยมิได้หมายถึงเฉพาะแต่ความปราศจากโรค หรือความไม่ทุพพลภาพเท่านั้น (a state of complete physical, mental, and social well-being and not merely the absence of disease or infirmity.)
แม้นิยามนี้จะเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์โดยเฉพาะในประเด็นของความไม่มีตัวชี้วัดที่ชัดเจน ความคลุมเครือในด้านการพัฒนายุทธศาสตร์สุขภาพแบบเป็นองค์รวม และประเด็นปัญญาที่ตามมาจากการใช้คำว่า “สมบูรณ์” (เนื่องจากทำให้เข้าใจไปว่าความมีสุขภาพดีเป็นเรื่องที่เป็นไปได้ยาก) ก็ตาม แต่ก็ยังเป็นนิยามที่ได้รับการยอมรับมากที่สุด ระบบจำแนกประเภทต่างๆ เช่น Family of International Classifications ขององค์การอนามัยโลก ซึ่งประกอบด้วย International Classification of Functioning, Disability and Health (ICF) และ International Classification of Diseases (ICD) เป็นเกณฑ์ที่เป็นที่นิยมใช้มากที่สุดในการนิยามและวัดองค์ประกอบของสุขภาพ
https://th.m.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%82%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E
เอกราช
เอกราช คือ ความเป็นอิสระในการปกครองตนเองของชาติ
การประกาศเอกราช
บางครั้ง รัฐหนึ่งๆ ต้องการเอกราชจึงได้ประกาศเอกราช เช่น สกอตแลนด์ เป็นต้น โดยการลงคะแนนเสียง ถ้าชนะจะได้ประกาศเอกราช บางประเทศเมื่อเสร็จสิ้นจากสงครามก็ประกาศเอกราชทันที เช่น อินโดนิเซีย
https://th.m.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A
ภาษาไทย
ภาษาหลักที่ใช้สื่อสารในประเทศไทยภาษาไทย หรือ ภาษาไทยกลาง เป็นภาษาราชการและภาษาประจำชาติของประเทศไทย ภาษาไทยเป็นภาษาในกลุ่มภาษาไทซึ่งเป็นกลุ่มย่อยของตระกูลภาษาขร้า-ไท สันนิษฐานว่า ภาษาในตระกูลนี้มีถิ่นกำเนิดจากทางตอนใต้ของประเทศจีน และนักภาษาศาสตร์บางส่วนเสนอว่า ภาษาไทยน่าจะมีความเชื่อมโยงกับตระกูลภาษาออสโตร-เอเชียติก ตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน และตระกูลภาษาจีน-ทิเบต
ภาษาไทยเป็นภาษาที่มีระดับเสียงของคำแน่นอนหรือวรรณยุกต์เช่นเดียวกับภาษาจีน และออกเสียงแยกคำต่อคำ
ภาษาไทยปรากฏครั้งแรกในพุทธศักราช 1826 โดยพ่อขุนรามคำแหง และปรากฏอย่างสากลและใช้ในงานของราชการ เมื่อวันที่ 31 มีนาคม พุทธศักราช 2476 ด้วยการก่อตั้งสำนักงานราชบัณฑิตยสภาขึ้น และปฏิรูปภาษาไทย พุทธศักราช 2485